เรียนระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา

เรียนกับ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ www.rattanabb.com เกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือ ซึ่งได้แง่คิดในการสร้างแบบทดสอบ (Test : แบบทดสอบ) ว่ามี

แบ่งตามเกณฑ์วัตถุประสงค์การใช้ ดังนี้
1.แบบทอสอบคัดเลือก
2.แบบทดสอบจัดวางตำแหน่ง
3.แบบทดสอบวินิจฉัย --> เพื่อดูสาเหตุในความบกพร่องเรื่องนั้นๆ

แบ่งตามเกณฑ์เนื้อหาที่สอน
1.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
2.แบบทดสอบ EQ
3.แบบทดสอบ IQ
4.แบบทดสอบ GAT (General Aptitude Test : เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป เพื่อวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนมหาวิทยาลัย)
5.แบบทดสอบ SAT ( Scholastic Aptitude Test : เป็นแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนหรือแบบท ดสอบวัดเชาว์ปัญญา ซึ่งทุกคนสามารถฝึกฝนได้)
6.แบบทดสอบ PAT ( Professional Aptitude Test : เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ)

แบ่งตามเกณฑ์การสร้าง
1.แบบทดสอบที่ครูสร้าง --> ตัดสินผลการเรียน
2.แบบทดสอบมาตรฐาน --> เทียบมาตรฐาน

เกณฑ์รูปแบบ (แบบฟอร์ม) ของแบบทดสอบ มีดังนี้
1.แบบถูก-ผิด
2.แบบจับคู่โยงความสัมพันธ์
3.แบบเติมคำ
4.แบบเลือกตอบ
5.แบบเขียนตอบ

ซึ่งที่เราได้ข้อสรุปแบบเน้นๆ ก็คือ เรื่องของแบบทดสอบแบบเลือกตอบ และ แบบทดสอบแบบเขียนตอบ
มีดังนี้
1.แบบทดสอบเลือกตอบ (Multiple Choice) จริงๆ ต้องเรียกว่า "แบบทดสอบแบบเลือกตอบ" ไม่ใช่เรียกว่า "แบบทดสอบแบบปรนัย" ซึ่งคุณสมบัติ ก็คือ
- ข้อคำถาม
-คำตอบ จะต้องประกอบด้วยตัวเลือกที่ถูก และตัวลวง

ตัวอย่างคำถามที่ไม่ดี
1.ตัวเลือกถูกต้อง จะต้อง มีตัวเดียว
คำถาม(ตัวอย่างที่ไม่ดี) เมืองพิษณุโลกมีความสำคัญอย่างไร?
ก.เป็นเมืองหลวงเก่า
ข.เป็นเมืองหน้าด่าน
ค.เป็นเมืองลูกหลวง
ง.เป็นที่ตั้งทางพระพุทธชินราช
--> จะเห็นว่ามีคำตอบที่ถูกต้องทุกข้อ

2.ตัวลวง ต้องลวงให้ไหลหลง เคลิบเคลิ้มได้
คำถาม(ตัวอย่างที่ไม่ดี) กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อใด
ก.พ.ศ. 2540
ข.พ.ศ. 24
ค.พ.ศ. 2310
ง.พ.ศ. 2557
--> เดาได้ง่าย มองก็รู้แล้วว่า ต้องตอบข้อ ค.

3.คำถามต้องไม่กำกวม / ไม่สมบูรณ์
คำถาม(ตัวอย่างที่ไม่ดี) กาเอ๋ย กาบินมา
ก. มาม่า
ข. ไวไว
ค. กุ๊งกิ๊ง
ง. ยำยำ
--> กำกวม มากๆ จั๊กว่าซิตอบข้อไหน?

4.พ่อขุนรามคำแหง ครองกรุงสุโขใด
ก.ธานี
ข.ทัย
ค.บุรี
ง.นคร
--> แบบนี้ตอบง่ายมากๆ แต่คำถาม ถามกำกวม

5.คำถามต้องไม่ชี้แนะคำตอบในข้อ หรือระหว่างข้อ
คำถาม(ตัวอย่างที่ไม่ดี) แม่ครัวมีหน้าที่ปรุงอาหาร ใบไม้ทำหน้าที่เหมือนแม่ครัว ข้อใดคือหน้าที่ของใบไม้
ก.หาอาหาร
ข.ปรุงอาหาร
ค.คายอาหาร
ง.กินอาหาร
--> คำถามชี้แนะว่า ต้องตอบข้อ ข.

6.คำตอบถูกต้อง ไม่ดูเด่น สะดุดตาน่ามอง
นั่นคือ ข้อที่ถูกต้องจะต้องไม่ยาวจนเกินไปทำให้เด็กตอบได้

7.โอกาสการถูกเลือกเป็นตัวถูกต้องเท่าๆ กัน

8.ตัวเลือกถูกต้อง ไม่เป็นกระสวน คือ ต้องสลับข้อถูกบ้าง
ไม่ใช่
ข้อ1.ตอบ ก.
ข้อ2.ตอบ ข.
ข้อ3.ตอบ ค.
ข้อ4. ตอบ ง.
ข้อ5 ตอบ ค.
ข้อ6 ตอบ ข.
อะไรอย่างนี้


ต่อไปเป็นแบบทดสอบแบบเขียนตอบ (Esay Test) ที่ถูกต้องต้องเรียกว่า "แบบทดสอบแบบเขียนตอบ" ไม่ใช่ เรียกว่า "แบบทดสอบอัตนัย" เพราะอัตนัย แปลว่า "เลว"
มีลักษณะเฉพาะของข้อสอบเพื่อเป็นการวัด ใน 3 อย่าง คือ
1.การสังเคราะห์
2.วิเคราะห์
3.การประเมินค่า

เราสามารถทำให้เป็นปรนัยได้ คือ
1.จัดเตรียมคำตอบ (เฉลย) ไว้ล่วงหน้า
2.กำหนดเกณฑ์การให้คำตอบล่วงหน้า
3.ตรวจอย่างเป็นระบบ
3.1 ทำจิตใจให้ผ่องใสก่อนตรวจ ไม่ควรอ่านในอารมณ์เครียด เช่น โดนเมียด่ามา, หรือผู้ชายควรอาบน้ำปะแป้ง นุ่งผ้าขาวม้า เปิดพัดลมเย็นๆ ค่อยๆ อ่าน เป็นต้น
3.2 ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรอ่านเอง เพราะจะลำเอียงเรื่องลายมือที่อ่านง่าน แต่ตอบไม่ตรงประเด็น
3.3 อ่านคำตอบทีละข้อ ของทุกคน แล้วจัดเป็นกอง 3 กอง คือ
กองดี, กองปานกลาง, กองแย่
3.4 กำหนดช่วงคะแนนแต่ละช่วง เช่น
กองดี --> 8-10 คะแนน
กองปานกลาง --> 5-7 คะแนน
กองแย่ --> 0-4 คะแนน
3.5 อ่านทีคนของกองนั้น แล้วให้คะแนน
3.6 ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกข้อ

พอเรียนแล้วก็พบว่า การออกข้อสอบเนี่ย มันเป็นสิ่งสำคัญทีเดียว เพราะหากออกไม่ดี ก็จะเป็นการตัดอนาคตของเด็กนักเรียน ทางที่ดีการวัดผลประเมินผลการเรียน ไม่ควรนำข้อสอบมาวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเสียอย่างเดียว ควรจะวัดจากประเด็นวัตถุประสงค์อื่นๆ ด้วย
Share this article :
 

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. บันทึกชีวิตครูวันดี - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger