คุณสมบัติของเครื่องมือที่ดี

เรียนเรื่องคุณสมบัติของเครื่องมือที่ดี (วิชาระเบียบวิจัยทางการศึกษา) กับ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ ก็มีเนื้อหา ดังนี้
1.ความตรง (Validity)
1.1 ความตรงเชิงประจักษ์
1.2 ความตรงเชิงเนื้อหา
1.3 ความตรงเชิงโครงสร้าง
1.4 ความตรงเชิงเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
1.4.1 ตรงเชิงปัจจุบัน
1.4.2 ตรงเชิงทำนาย

2.ความเที่ยง (Reliability)
3.ความยาก , บางครั้งเรียก ความยากง่าย (Difficulty)
4.อำนาจจำแนก (Discrimination)
5.ความเป็นปรนัย (Objectivity)

เรียนวิชานี้ชอบมากเลย เพราะอาจารย์รัตนะ ท่านเก่ง และชำนาญเรื่องการสอนจริงๆ โดยเฉพาะเรื่องความตรง ได้ Concept พอสมควร ซึ่งสามารถจะสรุปไว้เป็นที่จดจำ ดังนี้

ความตรง : เครื่องมือให้ข้อมูลถูกต้องแม่นยำ (ตรงกับความเป็นจริง)
ความเที่ยง : เครื่องมือให้ข้อมูลคงที่เมื่อใช้ 2 ครั้งขึ้นไป

1.ตรงแต่ยังไม่เที่ยง ดังภาพ

ทำไมจึงเรียกภาพด้านบนว่า "ตรงแต่ยังไม่เที่ยง" สาเหตุก็เพราะว่า ความเที่ยงจะต้อง มีการใช้เครื่องมือตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป

2.ทั้งเที่ยงและตรง ดังภาพ

สาเหตุที่เรียกว่า "ทั้งเที่ยงและตรง" เพราะว่า มีการใช้เครื่องมือ 2 ครั้งขึ้นไป และตรงเป้าอย่างแม่นยำ คงที่ทั้งหมดทุกครั้งที่ใช้เครื่องมือ

3.เที่ยงแต่ไม่ตรง ดังภาพ


ที่เรียกว่า "เที่ยงแต่ไม่ตรง" เนื่องจากผลการใช้เครื่องมือทุกครั้ง คงที่ แต่ว่า ไม่แม่นยำกับเป้าหมายที่คาดไว้

3.ไม่ตรงและไม่เที่ยง ดังภาพ



เนื่องจากว่า "ไม่ตรงและไม่เที่ยง" คือ ผลของการใช้เครื่องมือ ไม่มีเป้าหมาย ไม่คงที่ และไม่แม่นยำ

ดร.รัตนะ เน้นว่าที่เรายอมรับกันได้เรียงตามลำดับ ก็คือ

1.ทั้งตรงและเที่ยง
2.ตรงแต่ไม่เที่ยง
3.เที่ยงแต่ไม่ตรง

ทั้ง 3 ข้อนี้ เรายอมรับกันได้ แต่ว่า หากเป็น "ไม่ตรงและไม่เที่ยง" คงไม่มีใครยอมรับการใช้เครื่องมือ อย่างแน่นอน




Share this article :
 

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. บันทึกชีวิตครูวันดี - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger